เป้าหมายการเรียนรู้
โดยสาระสำคัญของการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มีการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการเรียนศาสตร์อื่น ที่มีความยากมากยิ่งขึ้นและ เพื่อสร้างกระบวนการคิดเชิงตัวเลข
web การสอนคณิตศาสตร์ ทุกๆ เนื้อหาใน Quarter 2/2557 |
เป้าหมายการสอนคณิตศาสตร์ แต่ละ Topic ใน Quarter 2/2557
Topic
|
เป้าหมายการสอนแต่ละ Topic
|
เหตุผล
|
ความสัมพันธ์ระหว่าง รูปเรขาคณิต 2
มิติและ 3 มิติ
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
อธิบายลักษณะของรูปเรขาคณิตสามมิติกับภาพสองมิติได้
สามารถสื่อสารและนำเสนอภาพสองมิติที่ได้จากการมองทางด้านหน้า ด้านข้าง
หรือด้านบน ของรูปเรขาคณิตสามมิติที่กำหนดให้ และเชื่อมโยงความรู้โดยการวาดหรือประดิษฐ์รูปเรขาคณิตที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์
เมื่อกำหนดภาพสองมิติที่ได้จากการมองทางด้านหน้า ด้านข้าง
หรือด้านบนได้และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
|
เป็นเรื่องที่สอนต่อจากเรื่องพื้นฐานเรขาคณิตฯ
ซึ่งนักเรียนทุกคนมีความเข้าใจเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว
จึงเป็นเรื่องที่สอนง่ายและสนุกต่อการเรียนรู้ในTopicความสัมพันธ์ระหว่าง รูปเรขาคณิต 2 มิติและ 3 มิติ
|
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์จากแบบรูปของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวได้
สามารถแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้สมบัติของการเท่ากันได้ตลอดจนเขียนสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวแทนสถานการณ์หรือปัญหาอย่างง่ายและแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวได้
|
สาระที่ต่อจากเรขาคณิต
สาระที่ 3 คือพีชคณิตในสาระที่ 4
Topic
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
เป็นเนื้อหาที่ใช้สอนปูพื้นฐานในเรื่องตัวแปรที่มากกว่า 1
ในเนื้อหาที่เรียนในระดับสูงขึ้น
|
คู่อันดับและกราฟ
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านและแปลความหมายของกราฟบนระนาบพิกัดฉากและ
เขียนกราฟแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองชุดได้
และปรับใช้ความรู้กับการชีวิตประจำวันได้
|
กราฟและคู่อันดับเป็นการทบทวนความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน
เพื่อต่อยอดสู่เนื้อที่ซับซ้อนขึ้น
|
การนำเสนอข้อมูล
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลและสามารถเชื่อมโยงความรู้โดยสามารถอ่านตารางนำเสนอข้อมูล แผนภูมิแท่ง
และกราฟได้
รวมทั้งนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง
แผนภูมิแท่ง และกราฟได้ และเก็บรวบรวมข้อมูลได้
ปรับใช้ความรู้กับการชีวิตประจำวันได้
|
การนำเสนอข้อมูลเป็นการทบทวนความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน
เพื่อต่อยอดสู่เนื้อที่ซับซ้อนขึ้น อาจจะเป็นรูปแบบนำเสนอที่หลากหลาย
|
- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์โจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น โดยโจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์อาจมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง หรือสถานการณ์จำลองก็ได้
- นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความคิดเห็น อธิบายการวิธีคิด ให้เพื่อนๆ และคุณครูฟัง (Black Broad Share)
- นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความคิดเห็น อธิบายการวิธีคิด ให้เพื่อนๆ และคุณครูฟัง (Black Broad Share)
- คุณครูและนักเรียน เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการคิดที่เกิดขึ้น พร้อมแสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์เพื่อจัดระบบข้อมูลที่เกิดขึ้น ในกระบวนการนี้ เป็นกระบวนการที่สำคัญ เพราะนักเรียนแต่ละคนจะมีวิธีคิดที่แตกต่างกัน แต่ได้คำตอบเดียวกัน ซึ่งคุณครูจะให้นักเรียนได้วิเคราะห์โจทย์ที่มีระดับความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยโจทย์ที่ให้นั้นจะต้องมีความหลากหลายของกระบวนการหาคำตอบ และท้าทายต่อกระบวนการคิดของนักเรียนเป็นสำคัญ
- การจับสื่อจริง เป็นขั้นตอนกระบวนการหนึ่งที่จัดอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญเนื่องจากจะช่วยให้นักเรียนเกิดภาพในสมองที่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังช่วยให้ได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ อาทิเช่น ทักษะการคิดและทักษะนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละคนได้ออกแบบโจทย์ใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่ครูผู้สอนสามารถสังเกตได้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีความเข้าใจต่อกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างไร เนื่องจากการออกแบบโจทย์ใหม่ จะต้องใช้ทักษะความเข้าใจที่เกิดขึ้นในกระบวนเรียนรู้ที่ผ่านมา มาปรับประยุกต์ใช้
- นำไปใช้จริงในชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ เช่น การใช้ในการวิเคราะห์ หรือคำนวณต่างๆในวิชาอื่นๆ
การสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา : การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)
- การจับสื่อจริง เป็นขั้นตอนกระบวนการหนึ่งที่จัดอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญเนื่องจากจะช่วยให้นักเรียนเกิดภาพในสมองที่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังช่วยให้ได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ อาทิเช่น ทักษะการคิดและทักษะนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละคนได้ออกแบบโจทย์ใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่ครูผู้สอนสามารถสังเกตได้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีความเข้าใจต่อกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างไร เนื่องจากการออกแบบโจทย์ใหม่ จะต้องใช้ทักษะความเข้าใจที่เกิดขึ้นในกระบวนเรียนรู้ที่ผ่านมา มาปรับประยุกต์ใช้
- นำไปใช้จริงในชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ เช่น การใช้ในการวิเคราะห์ หรือคำนวณต่างๆในวิชาอื่นๆ
ปฏิทินและวิเคราะห์มาตรฐานการจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ Quarter 2
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
|
12 - 15
|
โจทย์
ความสัมพันธ์ระหว่าง
รูปเรขาคณิต
2 มิติและ 3 มิติ
Key Question
นักเรียนเห็นความสัมพันธ์อะไรบ้าง
- นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ใด
ทั้ง 3 ด้าน
เครื่องมือคิด
Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คอมพิวเตอร์ power point / GSP
|
- ครูพานักเรียนดูPower point เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
-ครูใช้คำถาม
“นักเรียนเห็นความสัมพันธ์อะไรบ้าง จากภาพเพียงภาพเดียวกัน?”
- นักเรียนอธิบายถ่ายทอดความเข้าใจจากสิ่งที่เห็น
- ครูตั้งคำถามสม่ำเสมอเพื่อให้นักเรียนคนอื่นๆ
ได้อธิบายความเข้าใจไปพร้อมด้วย
-
ครูให้ใบงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต 2 มิติ และรูปเรขาคณิต3 มิติ
|
ภาระงาน
- ออกแบบรูปที่เกิดจากการมอง 3
ด้าน
- เขียนสรุปเนื้อหาการเรียนรู้
- ร่วมเสนอวิธีคิด
- นักเรียนทำใบงาน
ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับเราขาคณิต 2 มิติ และเรขาคณิต 3 มิติ
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
|
ความรู้
รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
อธิบายลักษณะของรูปเรขาคณิตสามมิติกับภาพสองมิติได้
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
-
มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
|
มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ
ม.1/6
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6
|
|||||
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
|
16 - 18
|
โจทย์
ความสัมพันธ์จากแบบรูปของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
Key Question
- สมการสองสมการที่จะเท่ากัน
จะมีความสัมพันธ์อย่างไ
เครื่องมือคิด
- Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- รูปทรงแบบรูปและความสัมพันธ์
- คอมพิวเตอร์ โปรแกรมGSP
|
- ครูพานักเรียนเล่นเกม 2 รูปต่อไปนี้ คือ
- นำเสนอวิธีการที่แตกต่าง
แบบรูปและความสัมพันธ์(pattern) ถัดไป
ตามความเข้าใจของเพื่อนๆ ที่นำเสนอแตกต่าง
-
ครูอธิบายความเข้าใจของความสัมพันธ์ผ่านโปรแกรมGSP
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่า 8 หรือ 4 เป็นคำตอบของสมการ x - 2 = 6”
เชื่อม : นักเรียนร่วมเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม ทุกคนเขียนตัวอย่างโจทย์
วิธิคิด.
“พิจารณาสมการ
x - 2 = 6
แทนค่า
x = 8 จะได้
8 - 2 = 6 ทำให้สมการเป็นจริง
แทนค่า
x = 4 จะได้
4 - 2 6 ทำให้สมการเป็นเท็จ
ดังนั้น
8 เป็นคำตอบของสมการ
x - 2 = 6”
- นักเรียนเขียนโจทย์ที่กำหนดให้เป็นการบ้านflip
classroom
|
ภาระงาน
- ทบทวนกิจกรรม
- นำเสนอความเข้าใจวิธีคิด
- สังเกตแบบรูปความสัมพันธ์ จากโปรแกรมGSP
- ทำชิ้นงานการ์ตูน/ใบงาน
ชิ้นงาน
- ใบงานการแก้ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
-
ชาร์ตถ่ายทอดความเข้าใจและการ์ตูน
|
ความรู้
การวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์จากแบบรูปของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
-
มีวินัยและความรับผิดชอบ
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
|
มาตรฐาน ค 4.1 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป(pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน : ตัวชี้วัด ม.1/1
มาตรฐาน ค 4.2 เข้าใจและใช้นิพจน์
สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์
(mathematical model)
อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ
ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา : ตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6
|
|||||
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
|
19 - 20
|
โจทย์
คู่อันดับและกราฟ
Key Question
นักเรียนคิดว่าเราสามารถรวบรวมข้อมูลมาสร้างเป็นรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลายได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
- Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นโจทย์ฝึกทักษะการคิดทางคณิต
- ผังคู่อันดับ
-
ตารางเปรียบเทียบปริมาณคู่อันดับ
|
-
นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา
ครูยกตัวอย่างโจทย์เกมกิจกรรมเดิม
- นักเรียนเล่นเกม
ฝึกการจับคู่ก่อนครูจะเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหา คู่อันดับและกราฟ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่าคู่อับดับมีความสัมพันธ์กับการสร้างกราฟอย่างไร?”
1. ครูให้นักเรียนเขียนคู่อันดับจากแผนภาพ
2 ครูเขียนคู่อันดับโดยให้สมาชิกตัวที่หนึ่งแสดงจำนวนสัปดาห์
- นักเรียนนำเสนอสิ่งที่ตนเองคิด
ให้ครูและเพื่อนๆ รับฟัง แล้วร่วมตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่สงสัย
- ชาร์ตสรุปความเข้าใจการเรียนรู้คู่อันดับและการเขียนกราฟ
|
ภาระงาน
-
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอข้อมูล
- สืบค้นข้อมูลคู่อันดับและกราฟ
- ทำชิ้นงานคู่อันดับและกราฟ
ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับคู่อันดับและกราฟ
- ชาร์ตความรู้การเขียนกราฟ
-
สรุปการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย
- สรุปองค์ความรู้ในTopic
|
ความรู้
การอ่านและแปลความหมายของกราฟบนระนาบพิกัดฉากและ
เขียนกราฟแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองชุด
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
-
มีวินัยและความรับผิดชอบ
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
|
มาตรฐาน ค 4.2 เข้าใจและใช้นิพจน์
สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์
(mathematical model)
อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ
ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา : ตัวชี้วัด ม.1/4 และ
ม.1/5
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6
|
|||||
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
|
21
|
โจทย์
การนำเสนอข้อมูล(1)
Key Question
นักเรียนคิดว่าเราสามารถรวบรวมข้อมูลมาสร้างเป็นรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลายได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
- Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
แผ่นโจทย์ฝึกทักษะการคิดทางคณิตฯ
- แผนภาพแบบเปรียบเทียบข้อมูลที่หลากหลาย
- แผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่ง
- แผนภูมิรูปวงกลม
|
- ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างนำเสนอที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ
เช่น
แบบการเปรียบเทียบข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่ง
การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิวงกลม
-
ร่วมกันอภิปรายความเข้าใจของแต่ละคนให้ครูและเพื่อนๆ ร่วมกันตั้งคำถามข้อสงสัย
- สืบค้นข้อมูล
เพื่อหารูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลาย
- เขียนความเข้าใจลงในสมุดคณิตศาสตร์
และรวบรวมข้อมูลลงชาร์ตความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
-
นักเรียนทุกคนเขียนสรุปองค์ความรู้ในTopic
|
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็น
- ออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูล
- ทำชิ้นงานสรุปความเข้าใจการนำเสนอข้อมูล
- นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์
ชิ้นงาน
- ออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูล
- สรุปเนื้อหาความเข้าใจการนำเสนอข้อมูล
- สรุปองค์ความรู้ในTopic
|
ความรู้
การสื่อสารโดยบอกความหมายของข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลและเชื่อมโยงความรู้อ่านตารางนำเสนอข้อมูล
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
-
มีวินัยและความรับผิดชอบ
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
|
มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล : ตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6
|
|||||
การสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา : การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)
การสอนจึงให้ความสำคัญที่เข้าใจความคิดรวบยอดก่อน และค้นหาวิธีที่หลากหลายร่วมกัน วิธีการที่ได้จึงเป็นคำตอบที่สำคัญกว่าคำตอบจริงๆ โดยใช้ขั้นของการสอนดังนี้
ชง หมายถึง ขั้นที่ครูตั้งคำถาม ตั้งโจทย์ หรือโยนปัญหาให้ผู้เรียนได้เผชิญ ผู้เรียนจะได้คิดและการลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้นด้วยตนเอง
เชื่อม หมายถึง การนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีแก้โจทย์ปัญหาของแต่ละคน ครูไม่จำเป็นต้องตัดสินว่าวิธีใดถูกหรือผิด เพราะสุดท้ายเมื่อมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นนักเรียนแต่ละคนจะเห็นมุงมองที่หลากหลาย เห็นช่องโหว่ของบางวิธี ได้ตรวจสอบวิธีแต่ละวิธี และในที่สุดจะรู้คำตอบเอง สามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ตัวเองเข้าใจไปใช้ได้ นี่เป็นทักษะของการรู้ตัว รู้ว่าตัวเองรู้หรือไม่รู้(Meta cognition) เป็นทักษะที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองต่อไป ในขั้นนี้ครูแค่ตั้งคำถาม “ใครได้คำตอบแล้ว?” “มีวิธีคิดอย่างไร?” “ใครมีวิธีอื่นบ้าง?” “คุยกับเพื่อนว่าเห็นอะไรที่คล้ายกันหรือแตกต่างกันบ้าง” ครูที่เก่งจะไม่ผลีผลามบอกคำตอบแต่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนพบคำตอบ คำตอบที่เราต้องการจริงคือวิธีการ ในขั้นตอนนี้ ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะทั้งหมด ทั้งทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Look for the Pattern), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และ ทักษะการสื่อสาร(Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)
ใช้ หมายถึง ขั้นของการให้โจทย์ใหม่ที่คล้ายกัน หรือยากขึ้น หลังจากที่ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาจากขั้นตอนที่ 2 แล้ว เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้ประลองเอง จะได้สร้างความเข้าใจให้คมชัดขึ้น ครูจะได้ตรวจสอบอีกรอบว่าเด็กแต่ละคนเข้าใจมากน้อยเพียงใด